ข้อมูลโครงการ

โครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.1020 - บ้านกิ่วแก้ว อำเภอเทิง, จุน จังหวัดเชียงราย, พะเยา

ข้อมูลโครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

เส้นทางการค้า North-South Economic Corridor เป็นเส้นทางเชื่อมโยงการค้าระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและราชอาณาจักรไทยมีจุดเชื่อมโยงอยู่ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงบริเวณอำเภอเชียงของ ซึ่งเป็นโครงการที่รองรับยุทธศาสตร์ตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor Bridge Project) เพื่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับเส้นทางคมนาคมจากอำเภอเชียงของมาถึงกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันใช้เส้นทางเริ่มต้นจากอำเภอเชียงของโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 ผ่านกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน และอำเภอดอกคำใต้ เชื่อมทางหลวงหมายเลข 1 เข้าสู่กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวงชนบทจึงมีโครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.1020 – บ้านกิ่วแก้ว อำเภอเทิง, จุน จังหวัดเชียงราย, พะเยา ระยะทางประมาณ 39 กิโลเมตร เพื่อเป็นเส้นทางลัดโดยไม่ต้องผ่านกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ
และอำเภอจุนซึ่งสามารถลดระยะทางการเดินทางโดยผ่านทางหลวงหมายเลข 1020
ได้ประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งแร่ลิกไนต์โดยรถบรรทุกพ่วงจำนวนมาก ดังนั้น การก่อสร้างถนนสายแยก ทล.1020 – บ้านกิ่วแก้ว อำเภอเทิง อำเภอจุน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา

โครงการก่อสร้างถนน

ประโยชน์ที่จะได้รับ

01

ลดระยะเวลาเดินทาง

เป็นการพัฒนาโครงข่ายถนนในภาคเหนือตอนบนเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย ลดระยะทางและระยะเวลาเดินทาง

03

การขนส่งรวดเร็ว

สามารถกระจายการขนส่งไปสู่ภาคกลางได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

02

พัฒนาพื้นที่ระหว่างอำเภอ

พัฒนาพื้นที่ระหว่างอำเภอเทิง อำเภอจุน ให้การเดินทางระหว่างกัน ตลอดจนการขนส่งผลิตผลทางการเกษตรมีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

04

รองรับปริมาณจราจรที่มากขึ้น

สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มสูงมากขึ้นในอนาคต.

ลักษณะของโครงการฯ

โครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.1020 - บ้านกิ่วแก้ว อำเภอเทิง, จุน จังหวัดเชียงราย, พะเยา เริ่มโครงการฯ กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 43+709 ระยะทางรวม 43+709 กิโลเมตร และมีรายละเอียดโดยสังเขป คือ

1. ถนนโครงการผิวจารจรแอสฟัลต์คอนกรีต หนา 0.10 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร เกาะกลาง
กว้าง 4.20 เมตร บริเวณ กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 3+425 และ บริเวณ กม.ที่ 42+757 ถึง กม.ที่ 43+709

2. ถนนโครงการผิวจารจรแอสฟัลต์คอนกรีต หนา 0.10 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร เกาะกลาง
กว้าง 4.20 เมตร บริเวณ กม.ที่ 10+300 ถึง กม.ที่ 12+000 (เขตชุมชน)

3. ถนนโครงการลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีต หนา 0.10 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร
บริเวณ กม.ที่ 3+425 ถึง กม.ที่ 10+300 และ บริเวณ กม.ที่ 12+000 ถึง กม.ที่ 42+757

4. ถนนโครงการผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก หนา 0.25 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร บริเวณทางแยก พย.4025, บริเวณทางแยก ทล.4003, บริเวณทางแยก พย.4005 และ บริเวณทางแยก พย.3169 (อบจ.)

5. ถนนโครงการผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก หนา 0.25 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร บริเวณจุดตัดทางแยก ทล.1021 กม.ที่ 2+800.000 ถึง กม.ที่ 2+975.000

6. ถนนโครงการผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก หนา 0.25 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร เกาะกลาง
กว้าง 4.20 เมตร บริเวณจุดเริ่มต้นโครงการฯ, บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการฯ, บริเวณทางแยก ทล.1126 และ บริเวณทางแยก ทล.1292

7. ก่อสร้างสะพาน คสล. 13 แห่ง ในจำนวนนี้มีสะพานขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง โดยเป็นสะพาน คสล. ขนาดใหญ่ข้ามแม่น้ำลาวและข้ามถนน ทล.1021 พร้อมสะพานข้ามแม่น้ำลาวเชื่อมต่อถนน ทล.1021 บริเวณ กม.ที่ 3+068.75 ความยาว 502.50 เมตร และก่อสร้างสะพาน คสล. ข้ามลำน้ำธรรมชาติ จำนวน 12 แห่ง

8. ก่อสร้างระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง พร้อมเครื่องหมายจราจร และสิ่งอำนวยความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง

Account details will be confirmed via email.